วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. ฮาร์ดแวร์  2. ซอฟแวร์

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ฐานข้อมูล

แฟ้มข้อมูล


ประเภทของแฟ้มข้มูล



ประเภทของแฟ้มข้อมูล สามารถแบ่งได้ดังนี้


  1. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มที่เก็บข้อมูลอย่างถาวร แฟ้มนี้จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยนัก เพราะการปรับปรุงข้อมูลจะกระทำจากแฟ้มรายการ (Transaction File) ดังนั้นข้อมูลที่เก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลหลักจะเป็นข้อมูลที่ทันสมัย (Up to date) อยู่เสมอ สามารถนำไปอ้างอิงได้ เช่น แฟ้มข้อมูลพนักงาน แฟ้มรายการสินค้า แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลภาควิชา


  2. แฟ้มรายการ (Transaction File) เป็นแฟ้มข้อมูลชั่วคราว ที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลง ของแฟ้มข้อมูลหลักหรือทำหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูลหลัก มีการเก็บเป็นรายการย่อย ๆ โดยอาจจัดเรียงข้อมูลให้เหมือนแฟ้มข้อมูลหลัก เพื่อนำไปปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลักให้ทันสมัย เมื่อปฏิบัติงานเสร็จสิ้นก็จะถูกลบทิ้งโดยอัตโนมัติ ส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลที่ใช้ในธุรกิจประจำวัน เช่น แฟ้มข้อมูลรายการขายสินค้าประจำวัน รายการฝากถอนเงิน ฯลฯ


  3. แฟ้มดัชนี (Index File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยในการประมวลผลข้อมูลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่ถูกสร้างมาจากแฟ้มข้อมูลหลัก คือ เป็นแฟ้มดัชนีของแฟ้มข้อมูลหลักนั่นเอง เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลักให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แฟ้มดัชนีเป็นแฟ้มข้อมูลที่ผ่านการจัดเรียงแล้ว โดยการจัดเรียงตาม คีย์หลักของแฟ้มข้อมูลหลัก โดยปกติแล้วแฟ้มดัชนีประกอบด้วย ฟิลด์ 2 ฟิลด์ ด้วยกันคือ ฟิลด์ที่เป็นคีย์หลักของแฟ้มข้อมูลหลัก และ ฟิลด์ที่เก็บตำแหน่งระเบียนของคีย์หลัก ในแฟ้มข้อมูลหลัก


  4. แฟ้มงาน (Work File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างในระหว่างการทำงานของโปรแกรมระบบงาน เมื่อสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม แฟ้มข้อมูลปะเภทนี้จะถูกลบทิ้งทันที เช่น Temp File ที่ถูกสร้างโดย ระบบวินโดว์ เป็นต้น


  5. แฟ้มรายงาน (Report File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้สำหรับรายงานผลออกทางจอภาพ (Monitor) หรือทางเครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งเราสามารถจัดรูปแบบของรายงานได้ตามต้องการ


  6. แฟ้มสำรอง (Backup File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่คัดลอกข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อสำรองเก็บไว้เมื่อเกิดปัญหากับแฟ้มข้อมูลหลัก ก็สามารถนำแฟ้มสำรองกลับมาใช้งานได้ ถือว่าเป็นแฟ้มที่มีความสำคัญมากประเภทหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ DSS กับ EIS

ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ DSS กับ EIS 

EIS ย่อมาจาก executive information system แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร หมายถึง การนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก
DSS คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน
EIS และ DSS ต่างถูกพัฒนาขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ แต่ทั้งสองระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้ โดยที่เราสามารถกล่าวได้ว่า EIS เป็น DSS ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสารสนเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหา และการดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องสมบูรณ์

ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ MIS กับ DSS

ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ MIS กับ DSS

ระบบ MIS เป็นระบบที่มีการนำผลการประมวลผลในระดับของระบบ DP ของแต่ละงานในหน่วยงานที่ประมวลผล มาแล้วทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลของงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กันของข้อมูลของงานแต่ละงาน
ระบบ DSS เป็นระบบที่ทำการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการตัดสินใจ โดยการนำการประมวลผลในระบบ MISมาประกอบกาานำ สารสนเทศจากภายนอกมาประกอบในการสร้างเครื่องมือ
ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS คือ เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง – ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบ Dss เป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์

หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ซอฟท์แวร์ระบบ ( System Software)

ซอฟท์แวร์ระบบ ( System Software) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสั่งงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น และทำหน้าที่ประสานงานกับซอฟท์แวร์ประยุกต์ทั้งระบบ ตัวอย่างของซอฟท์แวร์ระบบ ได้แก่
2.1.1 OS คือระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที
2.1.2 DOS คือเป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ 
2.1.3 UNIX คือเป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
2.1.4 WINDOWS คือ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน 
2.1.5 OS/2 คือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์ 

2.2 ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 

ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น พิมพ์เอกสารนำเสนองาน และคำนวณ หรือเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน
2.2.1ซอฟท์แวร์ประยุกต์เฉพาะด้าน
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
2.2.2ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

หน่วยแสดงผล

หน่วยแสดงผล (Output Unit)

มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่


1. ลำโพง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง



             จอภาพ CRT                                                                 จอภาพ LCD


2 .จอภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.จอภาพ CRT คือจอภาพแบบอะนะล็อก 2. จอ
ภาพ LCD คือจอภาพแสดงแบบDigital


3. เครื่องพิมพ์ มี 3 ประเภทคือ 
3.1. แบบเลเซอร์  เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร

3.2.แบบอิงค์เจ็ท แต่เดิมสามารถพิมพ์ได้ 4 สีโดยใช้หมึกเติม แต่ในปัจจุบัน มีเพิ่มเข้ามา 6 สี หรือ 8 สี เพื่อลดปัญหาในการผสมสี แต่จะมี 4 สีเป็นแม่พิมพ์หลัก

3.3.แบบดอตแมทริกซ์ ทำงานโดยใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใด ๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้น ๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่น ๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้พิมพ์

หน่วยประมวลผล

หน่วยประมวลผล (Processor)

 เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามาจากอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้นในการประมวลผลด้านกราฟิก จึงทำให้สิ่งที่แสดงผลออกมารวดเร็ว โดยซีพียูหรือโปรเซสเซอร์สามารถแบ่งตามสถาปัตยกรรมได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ แบบCISC และ ซีพียูแบบ RISC

หน่วยประมวลผลกลาง  หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบได้แก่


1. CPU คือ ตัวควบคุมการทำงานของอุปกรน์ต่างๆ


2. RAM คือ หน่วยความจำหลักของความพิวเตอรืทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งจากโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์

3. ROM คือ หน่อยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว

หน่วยรับข้อมูล

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่





1.1.1 เมาส์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง


1.1.2 คียบอร์ด คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์


1.1.3 เครื่องสแกนเนอร์ คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับให้เป็นข้อมูล 


1.1.4 กล้องดิจิตอล คือกล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายได้จะถูกบันทึกแบบดิจิตอลโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในกล้อง

ฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 


อุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. ฮาร์ดแวร์  2. ซอฟแวร์